เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 3. มหาวรรค 10. ทุติยโกสลสูตร
6. พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้ได้กถาเป็นเครื่องขัดเกลาอย่างยิ่ง เป็น
สัปปายะแห่งความเป็นไปของจิต1 คือ อัปปิจฉกถา(เรื่องความมักน้อย)
สันตุฏฐิกถา(เรื่องความสันโดษ) ปวิเวกกถา(เรื่องความสงัด) อสังสัคค-
กถา(เรื่องความไม่คลุกคลี) วิริยารัมภกถา(เรื่องการปรารภความเพียร)
สีลกถา(เรื่องศีล) สมาธิกถา(เรื่องสมาธิ) ปัญญากถา(เรื่องปัญญา)
วิมุตติกถา(เรื่องวิมุตติ) วิมุตติญาณทัสสนกถา(เรื่องความรู้ความเห็นใน
วิมุตติ) ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ข้าแต่พระ
องค์ผู้เจริญ หม่อมฉันเห็นอำนาจประโยชน์นี้ จึงทำความนอบน้อม
ประกอบด้วยเมตตาอย่างยิ่งเช่นนี้ในพระผู้มีพระภาค
7. พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้ได้ฌาน 4 อันมีในจิตยิ่ง ซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็น
สุขในปัจจุบันตามความปรารถนาได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันเห็นอำนาจประโยชน์นี้ จึงทำความนอบน้อม
ประกอบด้วยเมตตาอย่างยิ่งเช่นนี้ในพระผู้มีพระภาค
8. พระผู้มีพระภาคทรงระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ 1 ชาติบ้าง
2 ชาติบ้าง 3 ชาติบ้าง 4 ชาติบ้าง 5 ชาติบ้าง 10 ชาติบ้าง
20 ชาติบ้าง 30 ชาติบ้าง 40 ชาติบ้าง 50 ชาติบ้าง 100 ชาติบ้าง
1,000 ชาติบ้าง 100,000 ชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง
ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปและวิวัฏกัปเป็นอันมาก
บ้างว่า ‘ในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร
เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นก็ไปเกิดในภพโน้น
แม้ในภพนั้น เราก็มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์

เชิงอรรถ :
1 เป็นสัปปายะแห่งความเป็นไปของจิต หมายถึงเป็นที่สบายและเป็นอุปการะแก่การชักนำจิตเข้าสู่สมถะ
และวิปัสสนา (องฺ.นวก.อ. 3/1/285) ในที่นี้บาลีเป็น “เจโตวิจรณสปฺปายา” แต่ในฉบับภาษาอังกฤษ
และฉบับฉัฏฐสังคีติ เป็น “เจโตวิวรณสปฺปายา”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :78 }